
ไม่อยากผมบางไม่รู้ตัว ต้องมารู้จักโรคดึงผมตัวเอง (Trichotillomania)
หากคุณมีปัญหาผมบางโดยไม่ทราบสาเหตุ เราอยากให้คุณลองมาทำความรู้จักและสังเกตพฤติกรรมของตัวเองให้ดีเสียก่อนว่า คุณมีพฤติกรรมที่บ่งบอกถึงการเป็นโรคดึงผมตัวเอง ซึ่งเป็นโรคทางจิตเวชอย่างหนึ่งหรือไม่ ซึ่งแม้ว่าโรคนี้จะไม่ได้มีอันตรายต่อร่างกายถึงชีวิต แต่หากปล่อยไว้โดยไม่รักษาก็อาจจะเกิดผลเสียต่อร่างกาย จิตใจ บุคลิกภาพ และรูปลักษณ์ได้อีกด้วย
ดังนั้น เพื่อไม่ให้โรคดึงผมตัวเองเข้ามารบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ จนส่งผลให้เกิดโรคร้ายแรงอื่น ๆ ตามมา ก็ควรจะทำความรู้จักลักษณะอาการ และสาเหตุของการเป็นโรคดึงผมตัวเอง รวมถึงวิธีรักษาโรคนี้ให้หายขาด เพื่อให้คุณกลับมามีสภาพจิตใจและบุคลิกภาพที่ดี พร้อมความมั่นใจในการเข้าสังคมที่เพิ่มมากขึ้น และแน่นอนว่าคลินิกปลูกผม Grow& Glow ได้รวบรวมข้อมูลทั้งหมดมาไว้ในบทความนี้แล้ว
โรคดึงผมตัวเอง (Trichotillomania)
โรคดึงผมตัวเอง (Trichotillomania) เป็นโรคที่เกี่ยวกับภาวะทางจิตใจ ที่ทำให้ผู้ป่วยมีภาวะย้ำคิดย้ำทำและไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ มักจะพบได้มากในกลุ่มวัยรุ่นตั้งแต่ช่วงอายุ 10-17 ปี ส่วนในกลุ่มผู้ใหญ่จะเป็นกลุ่มที่มีอาการเรื้อรังมาตั้งแต่วัยรุ่นและไม่ได้รับการรักษา นอกจากนี้ยังมักจะพบโรคนี้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายอีกด้วย โดยผู้ป่วยจะรู้สึกสบายใจและผ่อนคลายเมื่อได้ดึงผมหรือขนบริเวณเดิมซ้ำไปเรื่อย ๆ ตลอดทั้งวัน และหากทำติดต่อกันมาเป็นเวลานานก็อาจจะทำให้ผมร่วงเป็นหย่อม และศีรษะล้านได้ในที่สุด ซึ่งลักษณะของโรคดึงผมตัวเองนี้ ไม่ได้มีเพียงแค่การดึงผมเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการทำพฤติกรรมเดิมซ้ำ ๆ และไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ไม่ว่าจะเป็น การดึงขนส่วนอื่นบนร่างกาย แกะผิวหนัง กัดเล็บ หรือแม้แต่การกินผมที่ดึงออกมาเข้าไป จนส่งผลให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับทางเดินอาหารในภายหลังได้อีกด้วย
อาการของโรคดึงผมตัวเอง แบ่งเป็น 2 ลักษณะ
1. ดึงผมแบบรู้ตัว
เป็นการดึงผมที่ผู้ป่วยตั้งใจดึงจากความรู้สึกไม่สบายหนังศีรษะ ความรู้สึกไม่พึงพอใจในผมของตัวเอง หรือภาวะทางอารมณ์บางอย่าง ที่ทำให้รู้สึกสบายใจหรือโล่งใจขึ้นเมื่อได้ดึงผมตัวเอง และเมื่อได้ดึงแล้วก็จะไม่สามารถยั้งมือตัวเองได้
2. ดึงผมแบบไม่รู้ตัว
คนที่ดึงผมโดยไม่รู้ตัว มักจะทำในเวลาเผลอ หรือล่องลอยอยู่กับความคิดและอารมณ์บางอย่าง รวมถึงในขณะที่กำลังทำกิจกรรมผ่อนคลาย เช่น อ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์ เป็นต้น ซึ่งคนที่เป็นโรคดึงผมตัวเองในลักษณะนี้ จะต้องอาศัยคนรอบข้างคอยช่วยสังเกตและตักเตือน
วิธีรักษาโรคดึงผมตัวเอง
การรักษาโรคดึงผมตัวเอง จะเป็นการปรับพฤติกรรม หรือที่เรียกว่า Habit Reversal Training (HRT) ซึ่งเป็นการรักษาโดยการทำให้ผู้ป่วยรู้ตัวเองว่ากำลังดึงผมอยู่ เพราะผู้ป่วยบางรายมักจะไม่รู้ตัวและไม่ยอมรับว่าตัวเองเป็นโรคนี้ จนไม่ยอมให้ความร่วมมือในการรักษา ทั้งนี้ วิธีทางจิตวิทยาที่แพทย์เลือกใช้ก็จะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ และความเหมาะสมของแต่ละบุคคล
ปลูกผมช่วยแก้ปัญหาโรคดึงผมตัวเองได้หรือไม่?
สำหรับคนที่เคยเป็นโรคดึงผมตัวเองและรักษาหายแล้ว แต่ผมที่ขึ้นกลับมีเส้นบางลง หรือขึ้นน้อยลงจนทำให้ดูศีรษะล้าน ซึ่งเกิดจากการที่รากผมถูกทำร้ายจากการดึงผมเป็นเวลานาน จนไม่สามารถสร้างผมให้หนาเท่าเดิมได้ นอกจากนี้หากมีการดึงผมรุนแรงจนเกิดแผล ก็อาจจะมีแผลเป็นเกิดขึ้นจนทำให้ผมในบริเวณนั้นไม่สามารถขึ้นได้อีก
วิธีรักษาผมบางจากการเป็นโรคดึงผมตัวเองด้วยการปลูกผมถาวรด้วยเทคนิค FUT หรือเทคนิค FUE จึงถือเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ตอบโจทย์มากที่สุด เพราะจะช่วยให้บริเวณที่ผมแหว่ง หรือผมบาง กลับมาหนาและดกดำเงางามอีกครั้ง ซึ่งแพทย์ของ Grow & Glow จะทำการวางแผนและประเมินความเหมาะสมเป็นรายบุคคล เนื่องจากการรักษาด้วยวิธีการปลูกผม จำเป็นต้องประเมินทั้งสาเหตุ อายุ คุณภาพของเส้นผม และความรุนแรงไปพร้อม ๆ กัน จึงจะเริ่มปลูกผมถาวรได้
และทั้งหมดนี้ก็คือข้อมูลเกี่ยวกับโรคดึงผมตัวเองที่ Grow & Glow ได้รวบรวมมาให้ ซึ่งเราเชื่อว่า ข้อมูลเหล่านี้คงจะทำให้หลาย ๆ คนเริ่มหันมาสังเกตพฤติกรรมของตัวเองกันมากขึ้นอย่างแน่นอน สำหรับคนที่สงสัยว่าตัวเองเข้าข่ายการเป็นโรคดึงผมตัวเองหรือไม่ ก็อาจจะเริ่มต้นด้วยการให้คนรอบข้างช่วงสังเกตพฤติกรรม และเข้าไปพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการแก้ไขอาการดึงผมตัวเองให้ทุเลาลงหรือหายไปนอกจากนี้สำหรับคนที่เคยเป็นโรคดึงผมตัวเอง จนทำให้มีปัญหาผมบาง หรือผมงอกใหม่ไม่แข็งแรง ก็สามารถเข้ามารักษาโดยการปลูกผมถาวรด้วยเทคนิค FUT หรือ FUE กับ Grow & Glow เพื่อคืนความมั่นใจให้กลับมา โดยคุณสามารถมั่นใจในผลลัพธ์ได้อย่างแน่นอน เพราะแพทย์ของเราจะมีการวางแผนและประเมินเทคนิคปลูกผมที่เหมาะสมเป็นรายบุคคล ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด