สาเหตุของรังแคเกิดจากอะไร พร้อมแนะนำวิธีกำจัดให้หายขาด
ปัญหารังแคนั้นเป็นปัญหาที่สร้างความกังวลใจ และความไม่มั่นใจอย่างมาก ไม่ว่าจะไว้ผมยาวหรือผมสั้นก็สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะมักจะเกิดที่บริเวณหนังศีรษะ แม้ไม่ได้เป็นโรคที่ร้ายแรงแต่ก็สร้างความรำคาญได้อย่างมาก บางคนอาจจะยังไม่ทราบว่ารังแคเกิดจากอะไร มีอาการอย่างไรบ้าง และมีวิธีการรักษาอย่างไรบ้าง ในบทความนี้มีคำตอบ
รังแคเกิดจากอะไร
รังแคเกิดจากเศษหนังศีรษะ ที่มีการผลัดออกมาเร็วจนเกินไป ทำให้หนังศีรษะแห้ง และคัน ซึ่งรังแคนั้นจะไม่สามารถล้างหลุดออกไปหลังจากสระผมได้ ต่างจากเซลล์ผิวหนังปกติที่จะสามารถล้างออกไปตอนสระผมได้
รังแคที่พบเจอได้มักมีลักษณะเป็นแผ่นหรือก้อนเล็ก ๆ สีขาวหรือสีเหลือง ที่หนังศีรษะ เส้นผม ตามบ่า ไหล่ มีหนังศีรษะบริเวณนั้นจะแห้งมีสีแดงจากการอักเสบ ซึ่งการเกิดรังแคบนหนังศีรษะแล้วทิ้งไว้ ไม่รักษาอาจลุกลามเป็นอาการเรื้อรังได้
ความชุ่มชื้นบนหนังศีรษะไม่สมดุล
รังแคเกิดจากความชุ่มชื้นบนหนังศีรษะไม่สมดุล ซึ่งอาจเกิดจากการสระผมบ่อยเกินไป น้ำมันบนหนังศีรษะน้อยเกินไป จนเกิดการลอกของหนังศีรษะเป็นแผ่น ๆ หรือบางครั้งการที่หนังศีรษะมันเกินไปก็ทำให้เกิดรังแคได้เช่นกัน
ผิวหนังอักเสบ
ผิวหนังอักเสบ ที่เกิดจากการแพ้สารต่าง ๆ เช่นการทำเคมีเกี่ยวกับผม การย้อมสีผม การยืดผม การใช้สเปรย์ เจลจัดแต่งทรงผม ซึ่งการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้เป็นประจำ อาจทำให้หนังศีรษะแห้ง จนเกิดเป็นรังแคตามเส้นผมและหนังศีรษะได้
ผิวหนังอักเสบจากโรคต่างๆ
ผิวหนังอักเสบจากโรคอื่น ๆ รังแคเกิดจากโรคผิวหนังอักเสบอื่น ๆ ได้ เช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคพาร์คินสัน หรือโรคอื่น ๆ ที่ส่งผลกับระบบประสาท และระบบภูมิคุ้มกัน
เชื้อรามาลาสซีเซีย
เชื้อรามาลาสซีเซีย เชื้อราตัวนี้นั้นมีอยู่บนหนังศีรษะอยู่แล้วเป็นปกติ แต่หากมีปัจจัยที่ไปกระตุ้นจนหนังศีรษะผลิตน้ำมันออกมามากจนเกินไป เชื้อรามาลาสเซียก็จะเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติเพื่อมากินน้ำมันที่หนังศีรษะซึ่งเป็นอาหารของเชื้อราตัวนี้ หากน้ำมันผมหายไปร่างกายก็จะตอบสนองด้วยการผลิตกรดโอเลอิกออกมา ซึ่งกรดตัวนี้เอง ที่จะทำให้หนังศีรษะอักเสบ ระคายเคือง แห้ง แดง คัน และอาการอักเสบนั้นทำให้เกิดการผลัดเซลล์ผิวผิดปกติ คือผลัดเซลล์ผิวเร็วขึ้นกว่าเดิม จนเกิดเป็นรังแคบนหนังศีรษะ แต่ไม่ใช้เชื้อราที่เป็นอันตรายร้ายแรงกับหนังศีรษะ
ปัจจัยอื่น ๆ
รังแคเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น ในเพศชายจะเกิดรังแคได้มากกว่าเพศหญิงเนื่องจากมีฮอร์โมนที่ชื่อว่า แอนโดรเจน (Androgen) ความเครียดที่ทำให้ฮอร์โมนเสียสมดุล พันธุกรรม อายุ สภาพอากาศ มลภาวะ
ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดรังแค
ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดรังแค แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
ปัจจัยภายนอก
- สภาพอากาศ อากาศร้อน ทำให้ร่างกายต้องระบายอุณหภูมิด้วยการกระตุ้นให้ผลิตเหงื่อมากขึ้น หนังศีรษะจะมีความอับชื้น เป็นสภาวะที่เชื้อราเพิ่มขึ้น
- การใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม แชมพู ครีมนวด หรือผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผมบางชนิด อาจระคายเคืองหนังศีรษะ กระตุ้นให้เกิดรังแค
- การสระผมน้อยเกินไป อาจทำให้น้ำมันและเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วก่อตัวจนทำให้เกิดเป็นรังแคได้
ปัจจัยภายใน
- พันธุกรรม โรคผิวหนังที่ทำให้เกิดรังแคบางโรค เช่น โรคสะเก็ดเงิน สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
- โรคประจำตัว โรคบางชนิด เช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคภูมิแพ้ โรคเกี่ยวกับระบบประสาท อาจกระตุ้นให้เกิดรังแค
- ความเครียด ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวน และกลไกป้องกันตนเองตามธรรมชาติของหนังศีรษะอ่อนแอลง
อาการของรังแค
อาการของรังแค แบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
อาการของรังแคแห้ง
อาการของรังแคแห้ง คืออาการที่หนังศีรษะเสียความชุ่มชื้นไป หรือการที่ต่อมไขมันถูกรบกวน จนทำให้ผลิตน้ำมันออกมาเคลือบหนังศีรษะได้น้อยกว่าปกติ เกิดการผลัดตัวมากกว่าปกติ จนหลุดลอกออกมากลายเป็นแผ่นรังแคสีขาวนั่นเอง
อาการของรังแคเปียก
อาการของรังแคเปียก มีสาเหตุมาจากต่อมไขมันสร้างไขมันมากเกินปกติ เมื่อน้ำมันเยอะ ก็ทำให้เชื้อรามาลาสซีเซียเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย จนทำให้เกิดอาการผิวหนังอักเสบ เซลล์จึงต้องผลัดผิวตัวไวขึ้นกว่าเดิม จนกลายเป็นรังแคนั่นเอง ซึ่งรังแคเปียกจะมีอาการคัน รังแคเป็นสีเหลือง มีขนาดแผ่นที่ใหญ่กว่ารังแคแห้ง และจะมีความเหนียวจากน้ำมันนั่นเอง ยังรวมถึงการกินอาหารที่ไปกระตุ้นต่อมไขมันมากเกินไปก็ทำให้เกิดรังแคเปียกได้เช่นกัน
ผลกระทบของรังแค
แม้รังแคจะไม่ส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพ แต่สร้างความรำคาญ ส่งผลต่อบุคลิกภาพ และความมั่นใจได้ อย่างไรก็ตาม รังแคไม่ทำให้ผมร่วงโดยตรง แต่การเกาหนังศีรษะบริเวณที่มีรังแคบ่อย ๆ จะทำให้รากผมยิ่งอ่อนแอและทำให้เส้มผมหลุดร่วงได้
โรคที่เกี่ยวข้องกับการเกิดรังแค
- โรคที่ทำให้เกิดรังแคโดยตรง ได้แก่ โรคสะเก็ดเงิน โรคผิวหนังอักเสบ โรคเชื้อราบนหนังศีรษะ
- โรคที่ทำให้เกิดรังแคทางอ้อม โดยจะส่งผลต่อระบบร่างกายจนทำให้เกิดรังแค ได้แก่ โรคเกี่ยวกับระบบประสาท เช่น พาร์กินสัน และโรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน เช่น โรคเอดส์ ไทรอยด์ เป็นต้น
เมื่อไหร่ถึงควรพบแพทย์
รังแคสามารถรักษาให้หายเองได้ด้วยการดูแลหนังศีรษะ เลือกใช้แชมพูขจัดรังแค และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ลดความเครียด ทานอาหารที่มีประโยชน์ แต่ถ้ารักษาด้วยตัวเองแล้วภายในเวลา 1 เดือน แล้วยังไม่หายดี หรือมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีอาการอักเสบ บวม แดง หรือ เป็นแผลบนหนังศีรษะ มีอาการคันอย่างรุนแรง ควรรีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการต่อไป
วิธีรักษารังแค
1. เลือกแชมพูให้เหมาะสม
เลือกแชมพูที่มีส่วนผสมที่ช่วยลดเชื้อมาลาสซีเซีย ได้แก่ ซีลีเนียมซัลไฟด์ (Selenium Sulfide), ซิงค์ ไพริไธโอน (Zinc Pyrithione), ซาลิไซลิก แอซิด (Salicylic Acid), ไพรอกโทน โอลามีน (Piroctone Olamine), คีโตโคนาโซล (Ketoconazole), Tea Tree Oil
2. สระผมให้ถูกวิธี
บางครั้งการสระผมบ่อย ๆ เกินไป หรือสระผมน้อยเกินไปจนสิ่งสกปรกสะสมก็สามารถทำให้เกิดรังแคได้เช่นกัน จึงควรสระแต่พอดี 3 ครั้งต่อสัปดาห์ถือว่ากำลังพอดี และไม่ควรเกาหนังศีรษะแรงเกินไปเพราะอาจทำให้เกิดอาการอักเสบที่หนังศีรษะ และเกิดเป็นรังแคหลุดลอกออกมาได้ รวมถึงไม่ควรสระผมด้วยน้ำร้อนหรือน้ำอุ่น เพราะอาจส่งผลให้หนังศีรษะแห้งมากกว่าเดิมได้
3. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
การรับประทานอาหารที่ส่งผลดีกับต่อมไขมันนั้นสามารถช่วยรักษาสมดุลให้กับต่อมไขมันบนหนังศีรษะได้ เช่น กรดไขมันโอเมก้า 3 และวิตามินบี แต่หากมีหนังศีรษะที่มันอยู่แล้ว ก็ควรต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่ไขมันสูง
4. ผ่อนคลายความเครียด
รังแคเกิดจากความเครียดได้ เนื่องจากความเครียดนั้น ส่งผลต่อฮอร์โมนหรือระบบอื่น ๆ ในร่างกายได้ หากเกิดความเครียดมาก ๆ อาจทำให้ฮอร์โมนเสียสมดุล หนังศีรษะเสียความสมดุลได้
วิธีป้องกันการเกิดรังแค
- รักษาความสะอาดของหนังศีรษะอย่าปล่อยให้มีสะสมสิ่งสกปรก
- ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเส้นผมและหนังศีรษะ ที่มีสารเคมีมากเกินไป
- รักษาสุขภาพ อย่างการออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง เจอกับแสงแดดบ้าง สามารถช่วยให้เชื้อรามาลาสซีเซียลดจำนวนลงได้
- หากสระผม ควรเป่าผมให้แห้งสนิท ไม่ควรนอนทั้งที่ผมยังเปียกและชื้นอยู่
จะเห็นได้ว่ารังแคเกิดจากหลากหลายสาเหตุ ซึ่งบางสาเหตุก็สามารถหลีกเลี่ยงด้วยตัวเองได้ แต่บางสาเหตุก็เกิดจากปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ สิ่งสำคัญคือการรักษาความสะอาดของหนังศีรษะอยู่เสมอ สระผมแต่พอดี เพื่อป้องกันการเกิดรังแค และอาจลามไปถึงอาการผมร่วง ผมบางได้ Grow & Glow Clinic เป็นคลินิกปลูกผม และให้การดูแลรักษาปัญหาเกี่ยวกับเส้นผมและหนังศีรษะแบบครบวงจร โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์ พร้อมให้คำปรึกษาและรักษาอาการต่าง ๆ ที่คุณกังวลเกี่ยวกับเส้นผมได้อย่างตรงจุด เพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาดีที่สุด ลดความกังวลใจ และเสริมสร้างบุคลิกของคุณให้ดีขึ้นกว่าเดิม
ปรึกษาปัญหาเส้นผมและหนังศีรษะเพิ่มเติมได้ที่ :
- โทรศัพท์ : 084 501 9989
- Line OA : @clinicgrowandglow
- Facebook Page : GROW & GLOW Clinic ปลูกผมถาวรโดยแพทย์เฉพาะทาง
Grow And Glow Hair Clinic ดูแลโดยแพทย์เฉพาะทางด้านการปลูกผมจากสถาบันปลูกผมระดับโลก ประสบการณ์ปลูกผมมากกว่า 5,000 เคส