รวมเรื่องต้องรู้เกี่ยวกับโรคเซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis)
อาการคัน บริเวณศีรษะนอกจากรังแคที่หลายคนรู้จักกันแล้ว อาการเหล่านี้ยังบ่งบอกถึงโรคเซ็บเดิร์มอีกด้วย ไม่รุนแรงแต่สามารถสร้างความรำคาญใจได้ หากเป็นโรคนี้มีโอกาสที่สามารถอาการเหล่านี้จะลุกลามได้แบบไม่หยุด เช่น มีอาการผมร่วงไม่หยุด จนต้องมีการรักษาผมบางเข้ามาช่วย เซ็บเดิร์มโรคที่กล่าวมาข้างต้นนี้คือโรคอะไร สาเหตุหรือปัจจัยที่ทำเกิดโรคนี้มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง หากเป็นโรคนี้สามารถหายได้ไหม มีวิธีการรักษาอย่างไรบ้าง สามารถอ่านบทสรุปที่รวบรวมข้อมูลสำหรับคนที่กำลังกังวลกับปัญหาเซ็บเดิร์มได้เลยในบทความนี้
โรคเซ็บเดิร์ม คืออะไร?
โรคเซ็บเดิร์ม คือ โรคผิวหนังอักเสบชนิดหนึ่ง มีอาการคล้ายคลึงกับโรคผิวหนังอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคสะเก็ดเงิน หรืออาการภูมิแพ้ในเด็กทารก มีอาการแพ้ต่อมไขมันอักเสบที่บริเวณหนังศีรษะ เป็นผื่น แดง มีขุย บางคนอาจคิดว่าเกิดเฉพาะบริเวณศีรษะ แต่เซ็บเดิร์มโรคนี้สามารถเกิดบริเวณใบหน้าได้ด้วย เช่น คิ้ว หน้าผาก หู ข้างจมูก หรือบริเวณที่มีต่อมไขมันสะสมเยอะ โดยส่วนมากจะพบในเด็กอายุน้อยกว่า 3 เดือน และผู้ใหญ่อายุช่วง 30 – 60 ปี และสามารถพบบ่อยในเพศชาย
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเซ็บเดิร์ม
โรคเซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis) อาจเป็นโรคที่ไม่สามารถระบุสาเหตุได้แน่ชัด เนื่องจากว่าสาเหตุอาจเกิดได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น
- เกิดจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป อากาศหนาวหรือร้อนจัด
- ขึ้นอยู่กับฮอร์โมนอาจมีความแปรปรวนในร่างกาย
- ภาวะของภูมิคุ้มกันที่ตกลงอย่างเช่น ในช่วงที่เครียดมาก ๆ หรือว่านอนไม่หลับ
- การใช้ยาบางชนิด เช่น psoralen interferon และ lithium
- การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
- ภาวะทางระบบประสาทและจิตเวช เช่น โรคพาร์กินสัน และภาวะซึมเศร้า
- โรคอ้วน
- หลายคนเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับเชื้อราบางตัว หรือเชื้อยีสต์บางตัวบนหนังศีรษะหรือใบหน้า
จะเห็นได้ว่ามีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเซ็บเดิร์ม อย่างไรก็ตามเซ็บเดิร์มจัดเป็นโรคผิวหนังเท่านั้นไม่ใช่โรคติดต่อ
อาการของโรคเซ็บเดิร์ม
อาการของโรคเซ็บเดิร์มมักเกิดขึ้นในบริเวณผิวที่มีความมัน และมีต่อมไขมันอยู่มาก เช่น ใบหน้า หลัง หน้าอก จมูก หนังศีรษะ รอบสะโพก ขาหนีบ โดยบริเวณผิวหนังจะแดง แห้ง ลักษณะเป็นวง
- อาจมีอาการผมร่วง
- บริเวณที่มีเส้นผม คิ้ว หนวดเครา หรือผิวหนังตกสะเก็ดเป็นรังแคบนหนังศีรษะ
- มีอาการคันหนังศีรษะร่วมกับผมร่วงผิดปกติ แต่ไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้ผมบางลง
- ผิวหนังลอกเป็นขุยสีขาวหรือสีเหลือง ผิวมัน
- มีอาการปวดหรือคันร่วมด้วย
- อาการอาจรุนแรงมากขึ้นหากมีความเครียดและมักจะเกิดรุนแรงในฤดูหนาวและฤดูร้อนจัด
โรคเซ็บเดิร์มรักษาให้หายขาดได้ไหม?
เป็นโรคที่เกิดจากภายใน โรคดังกล่าวสามารถลุกลามได้ทั่วร่างกาย โดยบางครั้งอาจเกิดขึ้นในบริเวณศีรษะ ยังสามารถลุกลามไปยังบริเวณหลังและบริเวณหน้าอก ซึ่งอาจไม่สามารถหายสนิทหรือหายขาดไปได้ แต่สามารถรักษาเพื่อให้อาการคัน อาการปวดทุเลาลงได้
วิธีดูแลรักษาโรคเซ็บเดิร์มเบื้องต้น
โรคเซ็บเดิร์ม รักษายังไงดี ผู้ที่เป็นโรคเซ็บเดิร์มสามารถรักษาตัวเองเบื้องต้นง่าย ๆ ดังนี้
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางประการ เพื่อทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรง เช่น การลดความเครียด การนอนพักผ่อนที่เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- รักษาความสะอาดบริเวณที่เป็นโรค ทำความสะอาดเป็นประจำ โดยเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำความสะอาดได้อย่างถูกต้อง ปราศจากสารระคายเคืองต่าง ๆ เช่น น้ำหอม สี พาราเบน และแอลกอฮอล์
- ดูแลสมดุลของยีสต์ในร่างกาย เช่น ลดอาหารที่มีส่วนประกอบของยีสต์ จะช่วยควบคุมโรคให้อาการทุเลาลง
วิธีดูแลผมร่วงจากโรคเซ็บเดิร์ม
หากเป็นบริเวณศีรษะแนะนำให้ใช้แชมพูที่มีส่วนผสมของ Selenium Sulfide, Ketoclonazol , Zinc pyrithione รวมถึง Coal Tar แชมพู เพื่อช่วยในการขจัดรังแค หรือช่วยลดการลุกลามของโรคไม่ให้เป็นมากกว่าเดิม และหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นให้โรคเซ็บเดิร์มกำเริบ เพราะฉะนั้นในช่วงที่เป็นโรคนี้อยู่ อาจต้องใช้แชมพูที่มีส่วนผสมเหล่านี้ในสักระยะหนึ่ง หากอาการดีขึ้นแล้ว ก็สามารถกลับไปใช้แชมพูแบบธรรมดาได้ตามปกติ
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคเซ็บเดิร์ม
1. โรคเซ็บเดิร์ม ทําให้ผมร่วงไหม?
โรคเซ็บเดิร์มเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ผมร่วง ผมบางลง และเกิดรังแคตามมา
2. โรคเซ็บเดิร์ม หายเองได้ไหม?
โรคเซ็บเดิร์มสามารถหายเองได้ หรือรักษาให้อาการทุเลาลง แต่บางครั้งอาการอาจคงอยู่ได้ยาวนานเป็นเวลาหลายปี และแม้จะรักษาจนหายดีแล้ว แต่ก็มีโอกาสกลับไปเป็นซ้ำอีกครั้ง
3. โรคเซ็บเดิร์ม ใช้ยาอะไร?
- ยาเมโทรนิดาโซล (Metronidazole) ใช้เป็นยาทาเพื่อต้านเชื้อแบคทีเรียบนผิวหนัง
- ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ เช่น ยาไฮโดรคอร์ติโซน (Hydrocortisone) ฟลูโอซิโนโลน (Fluocinolone) หรือเดโซไนด์ (Desonide) เพื่อลดอาการแดงหรือคัน
- ยาทาในกลุ่มแคลซินูริน อินฮิบิเตอร์ (Calcineurin Inhibitors)
- ยารับประทานสำหรับกำจัดเชื้อรา เช่น ยาเทอร์บิเนอฟีน (Terbinafine)
4. โรคเซ็บเดิร์ม ไม่ควรกินอะไร?
ผู้ที่เป็นโรคเซ็บเดิร์มควรงดอาหารไขมันสูง เบเกอรีและอาหารที่มียีสต์เป็นส่วนประกอบ ของที่มีน้ำตาลสูง เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารทะเล
สรุปเรื่องโรคเซ็บเดิร์ม
แม้โรคเซ็บเดิร์มไม่มีอาการที่รุนแรง แต่ก็ไม่สามารถทำการรักษาให้หายขาดได้เช่นกัน หากไม่มีการดูแลเซ็บเดิร์มอาจลุกลามมากกว่าเดิม แนะนำให้พยายามหลีกเลี่ยงโลชั่นหรือแชมพูที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่แพทย์แนะนำ ดูแลตัวเองออกกำลังกายให้สุขภาพแข็งแรง เครียดให้น้อยลง รวมไปถึงหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ วิธีเหล่านี้เป็นการดูแลตัวเองอย่างง่ายที่สามารถทำได้ที่บ้าน แต่สำหรับใครที่กังวลกับปัญหาของโรคเซ็บเดิร์มรักษายังไง อยากได้คำปรึกษาอย่างละเอียด สามารถเข้ามาปรึกษากับแพทย์ของทาง Grow & Glow Clinic คลินิกปลูกผมได้ทุกช่องทาง เนื่องจากมีแพทย์ที่มากประสบการณ์พร้อมให้คำปรึกษาได้อย่างตรงจุด