ไขข้อสงสัย ฮอร์โมน DHT คืออะไร ทำให้ผมร่วง ผมบางได้อย่างไร

เขียนโดย แพทย์หญิงภัทรา ภิญโญภาวศุทธิ - ธ.ค. 13, 2023

ฮอร์โมน DHT หนึ่งในฮอร์โมนที่เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ผู้ชายหลายคนเจอกับปัญหา ผมร่วง ผมบาง ซึ่งหลายคนอาจจะไม่เคยได้ยินหรือไม่เคยรู้มาก่อนว่าฮอร์โมนที่ว่านี้คืออะไร และทำไมจึงเกี่ยวข้องกับปัญหาของเส้นผม สำหรับใครที่กำลังเจอกับปัญหาผมร่วงจนทำให้รู้สึกว่าผมบางลง อาจเกิดขึ้นจากฮอร์โมนนี้ในร่างกาย วันนี้ Grow & Glow จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับฮอร์โมนชนิดให้มากขึ้น ติดตามกันได้เลย

ฮอร์โมน DHT คืออะไร?

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ฮอร์โมน DHT หรือ ดีไฮโดรเทสโทสเทอโรน (Dihydrotestosterone) คือ หนึ่งในฮอร์โมนเพศชาย ที่เกิดจากฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone) ทำปฏิกิริยาร่วมกับเอนไซม์ 5-alpha reductase (5-AR) เป็นฮอร์โมนสำคัญและมีส่วนช่วยในเรื่องของการพัฒนาทักษะทางเพศของผู้ชาย รวมไปถึงเส้นผมด้วยเช่นกัน

หน้าที่ของฮอร์โมน DHT

สำหรับฮอร์โมน DHT หรือ ดีไฮโดรเทสโทสเทอโรน (Dihydrotestosterone) ที่ว่านี้ จะเป็นฮอร์โมนที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของผมและขนตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แม้จะมีหน้าที่ในการสร้างขนแต่ก็ทำให้เกิดผมร่วงบางด้วยเช่นเดียวกัน และประโยชน์นอกเหนือจากนี้คือการช่วยให้ร่างกายสามารถทำงานได้อย่างปกติ ทำให้มีสรีระลักษณะทางเพศอย่างเหมาะสม รวมถึงมีผลต่อการสะสมไขมันในร่างกาย ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ

หน้าที่ของฮอร์โมน DHT

ฮอร์โมน DHT ตัวการที่ทำให้เกิดภาวะผมร่วงผมบาง

ตามที่ได้มีการกล่าวไปว่าฮอร์โมนชนิดนี้ นอกจากจะเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างขนในส่วนต่างๆ ของร่างกายแล้ว หากคุณมีกรรมพันธุ์ศีรษะล้านฮอร์โมนชนิดนี้จะเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาผมร่วงบางเกิดขึ้น เนื่องจากฮอร์โมนชนิดนี้จะออกฤทธิ์ต่อตัวรับแอนโดรเจนที่บริเวณรากผม ทำให้เส้นผมมีการเจริญเติบโตที่สั้นลง ทำให้ผมเส้นเล็กลงเรื่อย ๆ จนทำให้เกิดปัญหาศีรษะล้านตามมา 

วิธีลดปริมาณฮอร์โมน DHT

เมื่อร่างกายมี ฮอร์โมน DHT ที่มากจนเกินไปและทำให้เกิดปัญหาศีรษะล้าน สามารถป้องกันปัญหาดังกล่าวได้โดยการลดปริมาณของฮอร์โมนชนิดนี้ลง ซึ่งเราสามารถทำตามได้ด้วย 3 วิธีดังต่อไปนี้

ลดพฤติกรรมที่ส่งเสริมความรุนแรงของฮอร์โมน DHT

สิ่งแรกที่ทำง่ายได้ด้วยตัวเอง คือ การปรับเปลี่ยนลดพฤติกรรมที่ส่งเสริมความรุนแรงของฮอร์โมนชนิดนี้ อาทิเช่น การดื่มแอลกอฮอล์, การสูบบุหรี่ และการใช้ความร้อนรวมถึงสารเคมีกับเส้นผม เป็นต้น หากสามารถลดหรือหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเหล่านี้ได้ จะส่งผลดีต่อทั้งร่างกายและเส้นผม

ทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อเส้นผม

การรับประทานอาหารก็เป็นส่วนสำคัญเช่นเดียวกัน แนะนำเลือกทานอาหารที่จะมีประโยชน์ต่อเส้นผมเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรง อย่างเช่น สารอาหารจำพวกสังกะสี หรือ Zinc และวิตามินบี 7 สามารถช่วยลดการเกิดฮอร์โมน DHT ในร่างกาย 

รักษาด้วยยา

หากทำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อเส้นผมแล้วยังไม่ดีขึ้น การรับประทานยาเป็นอีกหนึ่งวิธีการรักษาที่ให้ผลลัพธ์ได้ดี โดย คลินิครักษาผมร่วง จะนิยมใช้ยาเพื่อทำการรักษา ได้แก่ ยาฟีนาสเทอไรด์ (FINASTERIDE),  ไมน็อกซิดิล (MINOXIDIL) และ รักษาผมบางด้วยการฉีด PRP ที่เป็นวิธีการรักษาใหม่ที่เห็นผลเร็ว

สรุปเกี่ยวกับฮอร์โมน DHT

สรุปบทความ

สำหรับผู้ที่มีกรรมพันธุ์ศีรษะล้านเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เมื่อมีฮอร์โมน DHT ในร่างกายเยอะ จะเป็นปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดปัญหาผมร่วง ผมบาง และอาจทำให้เกิดปัญหาศีรษะล้านได้ในอนาคต หากต้องการลดความรุนแรงของฮอร์โมนชนิดนี้ ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตบางอย่าง รวมถึงการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อเส้นผม จะสามารถช่วยลดฮอร์โมนชนิดนี้รวมถึงช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับเส้นผมและรากผมได้ แต่อย่างที่ได้มีการเกริ่นไปแล้วว่า หากได้มีการปรับเปลี่ยนทั้งพฤติกรรมการใช้ชีวิต และเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อเส้นผมแล้ว แต่ยังเกิดปัญหาผมร่วงหรือเกิดปัญหาศีรษะล้าน ไม่ต้องกังวลแต่อย่างใดเนื่องจากสามารถเข้าพบแพทย์เพื่อทำการแก้ปัญหาผมร่วงตามแนวทางต่อไปได้


ปรึกษาออนไลน์ฟรีกับคุณหมอ