ปัญหาหัวล้าน สร้างความกังวลให้ผู้คนได้ไม่น้อย
ปัญหาหัวล้าน มักพบได้ทั้งคุณผู้ชายและคุณผู้หญิง ส่วนใหญ่แล้วปัญหาผมร่วงมักมีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์ และพฤติกรรมในชีวิตประจำของแต่ละคน ทั้งความเครียด การรับประทานอาหาร การคลอดบุตร รวมไปถึงการเจ็บป่วย ทุกปัญหาเหล่านี้ยังพอมีทางแก้ไขได้ แต่ขอแนะนำให้รีบทำการรักษา เพราะหากปล่อยไว้เป็นเวลานาน จนไม่เหลือรากผมแล้ว ก็อาจส่งผลให้หัวล้านอย่างถาวรได้
ปัญหาหัวล้านกรรมพันธุ์คืออะไร
โรคหัวล้านทางกรรมพันธุ์ (Androgenetic Alopecia) คือ โรคที่เกิดจากพันธุ์กรรมที่ส่งผลให้ผมบาง ไปจนเกิดปัญหาหัวล้าน ด้วยอาการเริ่มแรกเส้นผมจะมีขนาดเล็กลง หรือลีบขึ้น ผมร่วงเยอะกว่าปกติ ถึงแม้จะมีเส้นผมใหม่ขึ้นมาก็จะไม่แข็งแรง และร่วงเช่นเดิม จนทำให้โคนผมเริ่มฝ่อ และเกิดอาการหัวล้านในที่สุด
โรคหัวล้านที่เกิดจากกรรมพันธุ์ มักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง เพราะด้วยการถ่ายทอดยีนเด่นโครโมโซม X ในเพศชาย จะทำให้หนังศีรษะของคุณผู้ชายไวต่อฮอร์โมน DHT เมื่อมีระดับฮอร์โมน DHT มากจนเกินไปและไปจับกับ Androgen receptor ที่อยู่ที่รากผม จึงทำให้ระยะเจริญเติบโตของผมสั้นลง และผมเริ่มหลุดร่วงมากขึ้นเรื่อย ๆ
ปัญหาหัวล้านกรรมพันธุ์เกิดจากอะไร
แน่นอนว่าโรคหัวล้านทางพันธุกรรม ส่งต่อกันมาทางยีนที่อยู่บนโครโมโซม X โดยตัวยีนมีองค์ประกอบคือ DNA ที่ได้รับการส่งต่อมาทางพ่อและแม่ได้ ยีนตัวนี้จะกระตุ้น Androgen receptor เป็นตัวที่จะคอยรับฮอร์โมน DHT ซึ่งมาจากฮอร์โมนเพศเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ที่ทำปฏิกิริยากับเอนไซม์ 5-alpha reductase ให้เปลี่ยนเป็นฮอร์โมน DHT กลายเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาหัวล้านนั้นเอง
เมื่อทั้งหมดนี้ทำงานสัมพันธ์กันก็จะทำให้ผมเส้นเล็กลง และร่วงมากขึ้น ยิ่งนานวันเข้าก็อาจจะทำให้ไม่มีเส้นผมใหม่เกิดขึ้นมาอีกเลย
หัวล้านกรรมพันธุ์มีลักษณะอย่างไร
ปัญหาหัวล้านในเพศหญิงและชาย อาจเกิดจากสาเหตุหลักของอาการผมร่วงที่มีความแตกต่างกันอยู่ ปัญหาศีรษะล้านของเพศหญิงมักมาจากระดับฮอร์โมนของเพศหญิงที่ไม่สมดุลเมื่ออายุมากขึ้น และมีปัญหาจากฮอร์โมน DHT น้อยกว่าในเพศชาย ลักษณะอาการผมร่วงจึงแตกต่างกัน แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะได้ตามนี้
1. Male Pattern Baldness
สำหรับอาการผมร่วงในเพศชาย มักพบได้ตั้งแต่อายุ 20 ขึ้นไป ส่วนใหญ่แล้วจะมักพบแนวผมถอยร่นบริเวณหน้าผากลึกขึ้นไปเป็นรูปตัว M เส้นผมจะเริ่มมีเส้นเล็กลงเรื่อย ๆ และบางลงเมื่อเทียบกับสมัยวัยหนุ่ม ๆ และเริ่มมีผมบางบริเวณกลางศีรษะ หรือที่เรียกกันง่าย ๆ ว่า หัวล้านไข่ดาว แต่ส่วนใหญ่จะพบว่า ผมบริเวณกกหูไปจนถึงท้ายทอยไม่เกิดอาการผมร่วง
ผมที่เริ่มร่วงจาก M shape ก็จะเริ่มถอยร่นไปบรรจบกับบริเวณกลางผม พอระยะเวลาผ่านไป เส้นผมก็จะค่อย ๆ เริ่มร่วงโรยไปจนหมด จนเหลือเพียงเส้นผมบริเวณกกหูและท้ายทอยเท่านั้น
2. Female Pattern Baldness
โรคหัวล้านทางพันธุ์กรรมในเพศหญิงพบได้น้อยกว่าเพศชาย ส่วนใหญ่แล้วมักมีปัญหาผมบางจากระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่ออายุมากขึ้น และจะมีปัจจัยสภาพแวดล้อมมาร่วมด้วย อาทิ การรับประทานอาหาร คลอดบุตร การแพ้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับเส้นผม รวมทั้งการแพ้ยาด้วยนั่นเอง
ซึ่งอาการผมร่วงในผู้หญิงจะเริ่มมีผมร่วงจากรอยแสกกลางศีรษะ และเริ่มคอย ๆ ลามไปเรื่อย แต่ก็มีในบางคนที่ศีรษะล้านเริ่มจากด้านหน้าเหมือนผู้ชายเช่นกัน แต่ส่วนใหญ่จะไม่พบลักษณะหัวล้านเป็นบริเวณกว้างมาก จนไม่มีผมเหลืออยู่เลยอย่างในเพศชาย
วิธีรักษาหัวล้านกรรมพันธุ์
ปัญหาหัวล้านทางพันธุกรรมเป็นเรื่องที่ไม่สามารถรักษาที่ต้นเหตุได้ แต่สามารถบรรเทาอาการและชะลอการหลุดร่วงของเส้นผมได้ โดยมีวิธีรักษาหัวล้านกรรมพันธุ์ ดังนี้
1. การเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน
ถึงแม้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำ จะไม่ทำให้โรคหัวล้านหายขาดไปได้ แต่สามารถช่วยบรรเทาอาการได้ อาทิ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อการงอกของเส้นผม ไม่ทานของมัน ของเผ็ดเยอะจนเกินไป เพราะอาหารเหล่านี้จะไปช่วยกระตุ้นฮอร์โมน DHT ซึ่งเป็นต้นตอของปัญหาผมร่วงในเพศชาย ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และหมั่นออกกำลังกาย จะช่วยให้ระบบการทำงานอวัยวะในร่างกายรวมทั้งสุขภาพเส้นผมดียิ่งขึ้น
2. ยารักษาผมร่วง
อีกหนึ่งวิธีในการรักษารากผมสำหรับปัญหาผมบางในระดับที่ไม่รุนแรงมากนัก ในปัจจุบันมีทั้งยารับประทานและยาทา หรือผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผม เพื่อกระตุ้นให้รากผมแข็งแรงมากยิ่งขึ้น และไปยับยั้งฮอร์โมน DHT และ 5α-Reductase ที่เป็นตัวทำลายเส้นผมให้ผมร่วงมากยิ่งขึ้น ช่วยให้กลับมามีเส้นผมดกดำได้อีกครั้ง ทั้งนี้ควรรับคำปรึกษาและใช้ยารักษาอาการผมร่วงที่อยู่ในการดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
3. ปลูกผม
ต้องยอมรับเลยว่าเทคโนโลยีในปัจจุบันล้ำสมัยไปไกล การปลูกผมเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยทำให้เส้นผมดกดำขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะด้วยนวัตกรรมทางการแพทย์ที่จะทำการย้ายเซลล์รากผม มาปลูกใหม่ในบริเวณที่ผมร่วง ผมบางได้ โดยไม่ต้องรับการผ่าตัด มีแผลหลังการปลูกผมที่ขนาดเล็กมาก และได้เส้นผมที่คงอยู่ได้อย่างถาวร หากได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ช่วยแก้ปัญหาหัวล้านที่แม้จะไม่มีรากผมเหลืออยู่แล้ว ก็สามารถกลับมามีเส้นผมได้อีกครั้ง
สรุปบทความ
ปัญหาหัวล้านทางพันธุ์กรรม แน่นอนว่าไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่ก็เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมฮอร์โมนในร่างกายได้ ทำได้เพียงรักษาตัวเองและช่วยบรรเทาอาการ บำรุงให้รากผมมีความแข็งแรงขึ้น ช่วยชะลออาการผมร่วง ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะรักษาด้วยเซรั่มบำรุงผม การใช้ยาทาร่วมกับยารับประทาน ตลอดจนการปลูกผมถาวร หรือปรึกษา คลินิครักษาผมร่วง อย่าง Grow and Glow Hair Clinic เพื่อเข้ารับคำปรึกษาว่าแท้ที่จริงแล้วปัญหาผมร่วงของเราเกิดมาจากสาเหตุอะไร? เพื่อจะได้รักษาได้อย่างตรงจุด มาจบปัญหาผมบางของคุณได้ที่นี่ ไม่ว่าคุณจะมีผมบางมาจากปัจจัยใดก็ตาม