ไม่อยากผมบางไม่รู้ตัว ควรรู้จักโรคดึงผมตัวเองหรือโรคถอนผมตัวเอง

เขียนโดย แพทย์หญิงภัทรา ภิญโญภาวศุทธิ - ก.ค. 03, 2023

หากคุณมีปัญหาผมบางโดยไม่ทราบสาเหตุ เราอยากให้คุณลองมาทำความรู้จักและสังเกตพฤติกรรมของตัวเองให้ดีเสียก่อนว่า คุณมีพฤติกรรมที่บ่งบอกถึงการเป็น “โรคดึงผมตัวเอง” หรือ “โรคถอนผมตัวเอง” ซึ่งเป็นโรคทางจิตเวชอย่างหนึ่งหรือไม่ ซึ่งแม้ว่าโรคดึงผมตัวเองนี้จะไม่ได้มีอันตรายต่อร่างกายถึงชีวิต แต่หากปล่อยไว้โดยไม่รักษาก็อาจจะเกิดผลเสียต่อร่างกาย จิตใจ และบุคลิกภาพได้

This image has an empty alt attribute; its file name is %E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%9C%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7-%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%87-Trichotillomania.png

ดังนั้น เพื่อไม่ให้โรคดึงผมตัวเองเข้ามารบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน คุณควรจะทำความรู้จักสาเหตุของการเป็นโรคดึงผมตัวเอง ลักษณะอาการ และรวมถึงหาวิธีการรักษาหรือทำให้ตัวเองเลิกดึงผมให้ได้ เพื่อให้คุณกลับมามีสภาพจิตใจและบุคลิกภาพที่ดี พร้อมความมั่นใจในการเข้าสังคมที่เพิ่มมากขึ้น และแน่นอนว่าคลินิกปลูกผม Grow& Glow ได้รวบรวมข้อมูลทั้งหมดมาไว้ในบทความนี้แล้ว

โรคดึงผมตัวเองเกิดจากอะไร

This image has an empty alt attribute; its file name is %E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%87-Trichotillomania.png

โรคดึงผมตัวเอง (Trichotillomania) เป็นโรคที่เกี่ยวกับภาวะทางจิตใจ ที่ทำให้ผู้ป่วยมีภาวะย้ำคิดย้ำทำและไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ มักจะพบได้มากในกลุ่มวัยรุ่นตั้งแต่ช่วงอายุ 10-17 ปี ส่วนในกลุ่มผู้ใหญ่จะเป็นกลุ่มที่มีอาการเรื้อรังมาตั้งแต่วัยรุ่นและไม่ได้รับการรักษา นอกจากนี้ยังมักจะพบโรคนี้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายอีกด้วย โดยผู้ป่วยจะรู้สึกสบายใจและผ่อนคลายเมื่อได้ดึงผมหรือขนบริเวณเดิมซ้ำไปเรื่อย ๆ ตลอดทั้งวัน และหากทำติดต่อกันมาเป็นเวลานานก็อาจจะทำให้ผมร่วงเป็นหย่อมและศีรษะล้านได้ในที่สุด ซึ่งลักษณะของโรคดึงผมตัวเองนี้ ไม่ได้มีเพียงแค่การดึงผมเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการทำพฤติกรรมเดิมซ้ำ ๆ และไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ไม่ว่าจะเป็นการดึงขนส่วนอื่นบนร่างกาย แกะผิวหนัง กัดเล็บ หรือแม้แต่การกินผมที่ดึงออกมาเข้าไป จนส่งผลให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับทางเดินอาหารในภายหลังได้อีกด้วย

อาการของโรคดึงผมตัวเอง 

อาการดึงผมปัจจุบันพบผู้ป่วยในอัตรา 4% ของคนทั่วไป โดยสามารถพบได้ในทุกเพศและทุกวัย ในวัยเด็กอาจจะไม่รุนแรงแต่จะค่อย ๆ รุนแรงขึ้นเมื่ออยู่ในช่วงวัยรุ่น  โดยอาการโรคดึงผมตัวเอง แบ่งเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้ 

โรคดึงผมตัวเอง ต้องไปพบแพทย์หรือไม่

จริง ๆ แล้วโรคดึงผมตัวเองควรจะไปพบจิตแพทย์ แต่ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักไม่ได้ไปรักษากับจิตแพทย์อย่างจริงจัง เนื่องจากรู้สึกอับอายหรือคิดว่าเป็นเพียงนิสัยที่ไม่ดีที่ทำจนเคยชิน ไม่คิดว่าตนเองป่วยเป็นอะไร โดยพบว่าถ้าไม่ได้พบแพทย์เพื่อรับการรักษาจะหายเองตามธรรมชาติได้เพียง 14% เท่านั้น ในขณะที่มากกว่า 50% จะรู้สึกว่าอาการดีขึ้นในระยะเวลาอันสั้นถ้าได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม

โรคดึงผมตัวเองมีวิธีการรักษาและบรรเทาอาการอย่างไรได้บ้าง

ถ้าเป็นโรคดึงผมตัวเองควรพบแพทย์ทันทีเมื่อรู้ตัว เพราะยิ่งหายเร็วก็จะยิ่งเป็นผลดี โดยแพทย์ก็จะมีวิธีการรักษาต่าง ๆ หรือแนะนำวิธีบรรเทาอาการให้เรา ดังนี้

This image has an empty alt attribute; its file name is %E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%9C%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88.png

รักษาโรคดึงผมตัวเองหายแล้ว แต่ผมยังบางทำยังไงดี

สำหรับคนที่เคยเป็นโรคดึงผมตัวเองและรักษาหายแล้ว แต่ผมที่ขึ้นกลับมีเส้นบางลง หรือขึ้นน้อยลงจนทำให้ดูศีรษะล้าน ซึ่งเกิดจากการที่รากผมถูกทำร้ายจากการดึงผมเป็นเวลานาน จนไม่สามารถสร้างผมให้หนาเท่าเดิมได้ นอกจากนี้ หากมีการดึงผมรุนแรงจนเกิดแผล ก็อาจจะมีแผลเป็นเกิดขึ้นจนทำให้ผมในบริเวณนั้นไม่สามารถขึ้นได้อีก 

โดยวิธีรักษาผมบางจากการเป็นโรคดึงผมตัวเองด้วยการปลูกผมถาวรด้วยเทคนิค FUT หรือเทคนิค FUE จึงถือเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ตอบโจทย์มากที่สุด เพราะจะช่วยให้บริเวณที่ผมแหว่ง หรือผมบาง กลับมาหนาและดกดำเงางามอีกครั้ง ซึ่งแพทย์ของ Grow & Glow จะทำการวางแผนและประเมินความเหมาะสมเป็นรายบุคคล เนื่องจากการรักษาด้วยวิธีการปลูกผม จำเป็นต้องประเมินทั้งสาเหตุ อายุ คุณภาพของเส้นผม และความรุนแรงไปพร้อม ๆ กัน จึงจะเริ่มปลูกผมถาวรได้

สรุป โรคดึงผมตัวเองควรรับการรักษาจากจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ทั้งหมดนี้ก็คือข้อมูลเกี่ยวกับโรคดึงผมตัวเองที่ Grow & Glow ได้รวบรวมมาให้ ซึ่งเราเชื่อว่าข้อมูลเหล่านี้คงจะทำให้หลาย ๆ คนเริ่มหันมาสังเกตพฤติกรรมของตัวเองกันมากขึ้นอย่างแน่นอน สำหรับคนที่สงสัยว่าตัวเองเข้าข่ายการเป็นโรคดึงผมตัวเองหรือไม่ ก็อาจจะเริ่มต้นด้วยการให้คนรอบข้างช่วงสังเกตพฤติกรรม และเข้าไปพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการแก้ไขอาการดึงผมตัวเองให้ทุเลาลงหรือหายไป นอกจากนี้ สำหรับคนที่เคยเป็นโรคดึงผมตัวเอง จนทำให้มีปัญหาผมบางหรือผมงอกใหม่ไม่แข็งแรง ก็สามารถเข้ามาคลินิกปลูกผมเพื่อรักษาโดยการปลูกผมถาวรด้วยเทคนิค FUT หรือ FUE กับ Grow & Glow เพื่อคืนความมั่นใจให้กลับมา โดยคุณสามารถมั่นใจในผลลัพธ์ได้อย่างแน่นอน เพราะแพทย์ของเราจะมีการวางแผนและประเมินเทคนิคปลูกผมที่เหมาะสมเป็นรายบุคคล ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด


ปรึกษาออนไลน์ฟรีกับคุณหมอ