ผู้หญิงหัวล้านเกิดจากอะไร ต้องรักษาอย่างไรให้กลับมาสวยเหมือนเดิม
ผมร่วงจนหัวล้านทำไงดี? ผู้หญิงสามารถทำศัลยกรรมปลูกผมได้ไหม? เป็นคำถามที่พบบ่อยในผู้หญิงที่มีอาการผมบางศีรษะล้านอยู่ เนื่องจากเป็นอาการที่พบได้ไม่บ่อย และไม่สามารถรักษาด้วยการรับประทานยาฟีนาสเตอไรด์ (Finasteride) เพื่อยับยั้งฮอร์โมนเพศชายเหมือนกับผู้ชายด้วย แต่ไม่จำเป็นต้องกังวลไป เพราะคลินิกปลูกผมโกรว์แอนด์โกลว์ (Grow and Glow Clinic) จะพาไปรู้จักสาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงหัวล้าน พร้อมแนะนำวิธีรักษาให้กลับมาสวยเหมือนเดิมเอง
รู้หรือไม่ว่า ผู้หญิงก็สามารถมีอาการหัวล้านได้
ไม่ใช่แค่ผู้ชายเท่านั้นที่มีภาวะผมบาง ศีรษะล้าน แต่ในผู้หญิงก็สามารถมีอาการหัวล้านได้เช่นกัน แต่จะมีความแตกต่างกันตรงสาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงหัวล้าน และลักษณะของอาการหัวล้าน ซึ่งจะส่งผลให้มีวิธีรักษาที่แตกต่างกันตามไปด้วย
หัวล้านในผู้หญิงแตกต่างจากหัวล้านในผู้ชายอย่างไร ?
อาการหัวล้านของผู้หญิงกับผู้ชายจะมีลักษณะแตกต่างกันดังนี้
ลักษณะหัวล้านผู้หญิง
หัวล้านในผู้หญิงจะเริ่มมีอาการผมบางบริเวณกลางศีรษะก่อน แล้วค่อย ๆ ขยายวงกว้างออกเป็นวงกลมบริเวณตรงกลางจนทำให้มีอาการผมบางกลางหัว และนำไปสู่การมีอาการศีรษะล้านในที่สุด ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้หญิงจะมีอาการผมบางลงมาก และเห็นหนังศีรษะบริเวณกว้าง แต่ก็ยังมีผมให้เห็นอยู่ มีน้อยมากที่จะมีอาการศีรษะล้านจนไม่เหลือผมเลย
ลักษณะหัวล้านผู้ชาย
หัวล้านในผู้ชายจะเริ่มจากด้านและกลางศีรษะ โดยจะเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน หรือเกิดขึ้นที่อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ หลังจากนั้นจะค่อย ๆ ขยายใหญ่ขึ้นเป็นวงกว้างและบรรจบกันในที่สุด ถ้าหากไม่ดูแลรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะทำให้ผมบางลงจนศีรษะล้าน ไม่มีเส้นผมเหลือเลย จะเหลือผมแค่เพียงบริเวณท้ายทอยและหลังกกหูเท่านั้น
สาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงหัวล้านมีอะไรบ้าง?
มีหลายสาเหตุมากที่ทำให้ผู้หญิงหัวล้าน ยกตัวอย่างเช่น
- กรรมพันธ์ุ : ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดว่ายีนตัวใดในผู้หญิงที่ทำให้ระยะเจริญของเส้นผมลดลงและระยะพักใช้เวลานานขึ้น ในขณะที่ของผู้ชายจะเกิดจากโครโมโซมเพศ
- ฮอร์โมนเพศ : ในผู้หญิงที่มีอาการผมบางและหัวล้าน มักจะมีความสัมพันธ์กับระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงกว่าปกติ เช่น ผู้หญิงที่มีอาการผมร่วงหลังคลอด ผมร่วงขณะตั้งครรภ์ หรือผมร่วงเยอะมากในวัยหมดประจำเดือน เป็นต้น
- อายุที่เพิ่มมากขึ้น : เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงหัวล้านได้เช่นกัน เพราะอายุที่เพิ่มมากขึ้นจะมีความสัมพันธ์กับระดับฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย
- ภาวะเครียด : การมีความเครียดที่มากเกินไปสามารถส่งผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย รวมถึงรากผม ทำให้เกิดอาการผมร่วงเยอะกว่าปกติ หรือเกิดพฤติกรรมทำร้ายเส้นผมอย่างการเกา หรือดึงผมบ่อย ๆ จนทำให้เกิดอาการผมร่วงเป็นหย่อม ๆ ได้ด้วย
- โรค หรือภาวะต่าง ๆ ที่ทำให้ผมร่วง : เช่น ภาวะโลหิตจาง ภาวะทุพโภชนาการ ภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคภูมิแพ้รากผม โรคไตวาย หรือลองโควิด เป็นต้น
- ผลข้างเคียงจากการใช้ยา : เช่น ยาต้านมะเร็ง ยาเคมีบำบัด ยาลดการแข็งตัวของเลือด หรือยาต้านซึมเศร้า เป็นต้น
- พฤติกรรมที่ทำร้ายเส้นผมและหนังศีรษะ : เช่น สระผมอย่างรุนแรง ย้อมผมหรือดัดผมบ่อยเกินไป หวีผม หรือนอนหลับในขณะที่ผมเปียก เป็นต้น
ผู้หญิงคนไหนบ้างที่เสี่ยงเป็นศีรษะล้าน
ผู้หญิงที่เสี่ยงเป็นศีรษะล้าน มีดังนี้
- ผู้หญิงในช่วงวัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
- ผู้หญิงที่มีประวัติคนในครอบครัวที่เป็นผู้หญิงมีอาการหัวล้าน
- ผู้หญิงที่กำลังอยู่ในช่วงตั้งครรภ์ หรือเพิ่งคลอดบุตร เพราะเป็นช่วงที่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงมากกว่าปกติ
- ผู้หญิงที่ดื่มสุราและบุหรี่เป็นประจำ
- ผู้หญิงที่ใช้สารเคมีในผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับเส้นผมและหนังศีรษะเป็นประจำ และมีอาการแพ้สารเคมี
- ผู้หญิงที่ต้องเข้ารับยาเคมีบำบัด ยาต้านเศร้า หรือยากรักษาโรคมะเร็ง
- ผู้หญิงที่ป่วยเป็นโรค หรือภาวะผิดปกติต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดอาการผมร่วง
- ผู้หญิงที่เพิ่งผ่านการผ่าตัด ป่วยเป็นโรคร้าย หรือไข้สูงมา
เมื่อไหร่ถึงควรไปพบแพทย์
หากเริ่มพบว่าตนเองมีอาการหัวล้าน แนะนำให้รีบไปพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะยิ่งพบแพทย์และเข้ารับการรักษาเร็วเท่าไหร่ การรักษาผมบางผมล้านในผู้หญิงก็จะทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งในบางรายอาจตอบสนองต่อการรักษาอย่างดีจนทำให้ไม่จำเป็นต้องปลูกผมเลย
วิธีรักษาหัวล้านในผู้หญิง
แพทย์จะตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงหัวล้านก่อน หลังจากนั้นจะวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม โดยวิธีรักษาหัวล้านในผู้หญิงจะมีรายละเอียดดังนี้
1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสม
สำหรับสาว ๆ คนไหนที่มีภาวะผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้านจากการมีพฤติกรรมทำร้ายเส้นผม แพทย์ก็จะให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก่อน ซึ่งอาจช่วยให้อาการผมร่วงผมบางดีขึ้น ผมใหม่งอกกลับมาใหม่ได้ เช่น
- สระผมด้วยแชมพูสูตรอ่อนโยน เหมาะกับสภาพเส้นผม และเป่าผมให้แห้งอย่างเป็นประจำสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
- หลีกเลี่ยงการมัดผมทรงรวบตึง
- หลีกเลี่ยง หรือลดการใช้สารเคมีหรือความร้อนต่อเส้นผม
- ควบคุมโรคที่เป็นต้นเหตุทำให้ผมร่วงตามคำแนะนำของแพทย์ให้ได้
- รับประทานอาหาร วิตามิน หรืออาหารเสริม ที่มีสารอาหารบำรุงเส้นผม เช่น โปรตีน, ซิงค์, ไบโอติน, วิตามินบี 6, แร่ธาตุซิลิกา, ธาตุเหล็ก, วิตามินซี หรือกรดไขมันโอเมกา-3 (Omega-3 Fatty Acids) เป็นต้น
2. ปรับฮอร์โมนเพื่อลดอาการผมร่วง
สำหรับสาว ๆ ที่มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง แล้วไม่ได้อยู่ในช่วงที่เพิ่งคลอดบุตร หรือตั้งครรภ์ เราขอแนะนำให้ลองปรับฮอร์โมนเพศหญิงให้สมดุลด้วยวิธีการต่อไปนี้
- ใช้ฮอร์โมนเสริมเพื่อทดแทน ในผู้หญิงที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน หรือผ่าตัดมดลูกและรังไข่ออกไปแล้ว
- บริหารจัดการความเครียดให้ดู
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที หรือ 3 วันต่อสัปดาห์
- เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารช่วยบำรุงผม
- ลด ละ เลิก การสูบหรี่
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ไม่ปล่อยให้ตัวเองอ้วน หรือผอมจนเกินไป
3. รักษาด้วยยาแก้ผมร่วง
สำหรับผู้หญิงที่มีอาการผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน แล้วต้องการรับประทานยาแก้ผมร่วง หรือยาปลูกผม จะสามารถรับประทานยาไมนอกซิดิล (Minoxidil) ได้ โดยจะเป็นยาที่มีฤทธิ์ช่วยให้เกิดการคลายตัวของหลอดเลือดแดง ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงรากผมได้ดีขึ้น ส่งผลให้รากผมและเส้นแข็งแรงขึ้น ผมขาดหลุดร่วงได้น้อยลง
ส่วนยาฟีนาสเตอไรด์ (Finasteride) แม้จะเป็นยาที่ช่วยยับยั้งการทำงานของฮอร์โมน DHT (Dihydrotestosterone) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้านในผู้ชาย แต่สาเหตุผมร่วง ผมบางในผู้หญิงมีหลายปัจจัยมากกว่าฮอร์โมน และการใช้ยาฟีนาสเตอไรด์ในผู้หญิงมีข้อควรระวังมากกว่า จึงจำเป็นต้องพิจารณาเป็นกรณีไปภายใต้การดูแลของแพทย์
4. ทำหัตถการที่ช่วยกระตุ้นรากผมให้แข็งแรง
นอกจากการรับประทานยาที่ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดแล้ว ผู้หญิงยังสามารถทำหัตถการที่ช่วยกระตุ้นรากผมให้แข็งแรงขึ้นได้ด้วย โดยจะนิยมทำอยู่ 3 หัตถการหลัก ๆ ดังนี้
- การฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น PRP : เป็นการนำเลือดผู้เข้ารับการรักษามาปั่นแยกโลหิตที่เข้มข้นและสมบูรณ์ อุดมไปด้วยโกรทแฟคเตอร์ (Growth Factor) แล้วนำไปฉีดบริเวณที่มีปัญหา สามารถช่วยกระตุ้นการแบ่งเซลล์รากผม ชะลออาการผมบางลง และเพิ่มความแข็งแรงให้กับเส้นผมได้
- ฉีดยากลุ่ม Hair Loss Control : เป็นการรักษาอาการผมร่วงผมบางด้วยการฉีดวิตามินเข้มข้น หรือตัวยาที่ช่วยรักษาผมร่วงไปที่หนังศีรษะโดยตรง เพิ่มสารอาหารบำรุงรากผมและเส้นผม กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดบริเวณหนังศีรษะ จัดเป็นการรักษาที่ไม่มีผลข้างเคียง ไม่ต้องพักฟื้น และเห็นผลเร็ว
- ฉายแสงกระตุ้นรากผม LLLT : แสงจะมีลักษณะสีแดง มีคลื่นแสงความถี่ต่ำที่ 650 – 680 นาโนเมตร เมื่อฉายแสงไปที่หนังศีรษะจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงได้ดีขึ้น ทำให้รากผมแข็งแรง รากผมมีขนาดใหญ่ขึ้น และสร้างเส้นผมได้มากขึ้น
5. ผ่าตัดปลูกผมในกรณีที่ไม่สามารถกระตุ้นเซลล์รากผมได้แล้ว
สำหรับผู้หญิงที่มีอาการผมบาง ศีรษะล้านจนไม่มีเซลล์รากผมเหลืออยู่แล้ว ไม่สามารถกระตุ้นให้เซลล์รากผมสร้างเส้นผมใหม่ขึ้นมาได้ วิธีเดียวที่เหลืออยู่จะเป็นการผ่าตัดปลูกผม ซึ่งการปลูกผมผู้หญิงจะมีเทคนิคเหมือนกับผู้ชายเลยก็คือ
- การปลูกผมด้วยเทคนิค FUT : เป็นการปลูกผมโดยการผ่าตัดนำชิ้นหนังศีรษะบางส่วนออกมา แล้วทำการคัดแยกเซลล์รากผมด้วยกล้องจุลทรรศน์ และนำเซลล์เราผมที่ได้ไปลูกบริเวณที่มีปัญหา มีข้อดีคือ จะได้เนื้อเยื่อของกราฟผมที่สมบูรณ์และบอบช้ำน้อย
- การปลูกผมด้วยเทคนิค FUE : เป็นการปลูกผมโดยการใช้เครื่องเจาะขนาดเล็กประมาณ 0.8 – 1.0 มิลลิเมตร เจาะผ่านหนังศีรษะและดึงเซลล์รากผมออกมาโดยตรง แล้วนำเซลล์รากผมไปปลูกบริเวณที่ต้องการ มีข้อดีตรงที่ใช้เวลาพักฟื้นน้อยกว่า
อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างของการปลูกผมผู้หญิงจะอยู่ที่บริเวณเซลล์รากผมที่นำมาใช้ปลูกผม โดยผู้ชายจะต้องใช้บริเวณท้ายทอยเป็นหลัก เพราะเป็นบริเวณที่ไม่ได้รับผลกระทบจากฮอร์โมน DHT ในขณะที่การคัดแยกเซลล์รากผมในผู้หญิงจะไม่ได้มีข้อจำกัดในส่วนนี้
วิธีป้องกันศีรษะล้านในผู้หญิง
แนวทางการป้องกันผมบางศีรษะล้านในผู้หญิงจะเน้นที่ไปที่การหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการผมร่วงผมบาง และดูแลหนังศีรษะและเส้นผมอย่างเหมาะสม เพื่อชะลอไม่ให้เกิดอาการผมบางจากกรรมพันธุ์ให้ได้นานที่สุด ยกตัวอย่างเช่น
- หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำร้ายเส้นผม เช่น การย้อมสีผม การใช้ความร้อนกับเส้นผม การนอนหลับในขณะที่ผมเปียก การสระผมแรงเกินไป หรือการมัดผมรวบตึงเป็นประจำ เป็นต้น
- บริหารจัดการความเครียดของตัวเองอยู่เสมอ ไม่ปล่อยให้มีความเครียดสะสมนานเกินไปจนส่งผลกระทบกับสุขภาพ
- ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง โดยการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่
- เข้ารับการทำทรีตเมนต์ หรือหัตถการที่ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดมาเลี้ยงหนังศีรษะ เช่น การนวดหนังศีรษะ การทำเลเซอร์กระตุ้นรากผม LLLT การฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น PRP การฉีดสเต็มเซลล์ผม หรือการฉีดยากลุ่ม Hair Loss Control เป็นต้น
สรุปเรื่องผู้หญิงหัวล้าน
จะเห็นได้ว่า มีหลายสาเหตุมากที่ทำให้ผู้หญิงหัวล้าน และแต่ละสาเหตุก็จะมีวิธีรักษาที่แตกต่างกันไป เมื่อเกิดอาการผมร่วง ผมบาง จนเริ่มเห็นหนังศีรษะแล้ว จึงควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ อย่าปล่อยทิ้งไว้จนบริเวณที่มีปัญหาผมบางขยายวงกว้างขึ้นเรื่อย ๆ และนำไปสู่อาการศีรษะล้านในที่สุด
ปรึกษาปัญหาผมบาง ศีรษะล้าน ในผู้หญิงเพิ่มเติมได้ที่ :
- โทรศัพท์ : 084 501 9989
- Line OA : @clinicgrowandglow
- Facebook Page : GROW & GLOW Clinic ปลูกผมถาวรโดยแพทย์เฉพาะทาง
Grow And Glow Hair Clinic ดูแลโดยแพทย์เฉพาะทางด้านการปลูกผมจากสถาบันปลูกผมระดับโลก ประสบการณ์ปลูกผมมากกว่า 5,000 เคส