เคลียร์ชัด! ปลูกผมแล้วต้องกินยาไหม?
การใช้ยาปลูกผม หรือยาแก้ผมร่วง เป็นวิธีรักษาปัญหาผมบาง ศีรษะล้านจากกรรมพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพมาก ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว แพทย์จะให้ยาในคนที่ไม่ได้มีปัญหารุนแรงมาก แต่สำหรับคนที่มีปัญหาผมบาง ศีรษะล้าน แล้วเข้ารับการรักษาด้วยการปลูกผมแล้ว อาจจะมีข้อสงสัยว่ายังจำเป็นต้องกินยาต่อไหม Grow And Glow Hair Clinic ได้หาคำตอบมาให้แล้ว ใครที่สงสัยว่าปลูกผมแล้วต้องกินยาไหม? ห้ามพลาดบทความนี้เลย!
ปลูกผมแล้วต้องกินยาไหม?
หลังจากที่เข้ารับการรักษาผมบางศีรษะล้านแล้ว ผู้เข้ารับการรักษาจะยังต้องกินยาแก้ผมร่วงต่ออย่างน้อย 1 ปี โดยยาที่ต้องรับประทาน หรือต้องทา มีดังนี้
1. ยาฟีนาสเตอไรด์ (Finasteride)
ยา Finasteride เป็นยาที่มีส่วนช่วยในการยับยั้งฮอร์โมน Dihydrotestosterone (DHT) ที่เป็นสาเหตุทำให้รากผมสร้างเส้นผมได้ขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ ทำให้เส้นผมระยะสุดท้ายมีวงจรที่สั้นลง และหลุดร่วงได้ง่ายขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของผมบางและหัวล้านกรรมพันธุ์ในเพศชาย
2. ยาไมน็อกซิดิล (Minoxidil)
ยา Minoxidil เป็นยาที่ช่วยให้เกิดการคลายตัวของหลอดเลือดแดง ช่วยให้เลือดสามารถไหลเวียนไปเลี้ยงรากผมได้ดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เส้นผมมีความแข็งแรงขึ้น ผมใหม่งอกได้มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็มีอาการขาดหลุดร่วงน้อยลงตามไปด้วย จัดเป็นยาแก้ปัญหาผมร่วงผมบางที่สามารถใช้ได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง
ยาไมน็อกซิดิลนั้น จะแบ่งเป็น 2 รูปแบบหลัก ๆ ดังนี้
- ชนิดเม็ด : จะต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น ซึ่งโดยปกติจะใช้ควบคู่กับการปลูกผม แต่มีอาการข้างเคียงตรงที่จะทำให้มีขนขึ้นบริเวณอื่น ๆ ตามร่างกายด้วย
- ชนิดทา หรือฉีด : โดยจะใช้ยาให้โดนหนังศีรษะมากที่สุด ซึ่งจะช่วยให้บริเวณดังกล่าวมีการไหลเวียนของเลือดที่ดีขึ้น สารอาหารมาหล่อเลี้ยงรากผมได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้ผมแข็งแรงและทนต่อการขาดหลุดร่วง แต่จะมีข้อเสียตรงที่อาจทำให้ผิวบริเวณที่ใช้ยามีการระคายเคือง เป็นรังแค หรือผิวแห้งได้
ปลูกผมแล้วต้องกินยาตลอดชีวิตไหม?
ในผู้ชาย หลังจากที่ปลูกผมเสร็จแล้ว ผมใหม่ที่ปลูกจะไม่ได้รับผลกระทบจากฮอร์โมน DHT จึงไม่ได้มีความเสี่ยงทำให้ผมหลุดร่วง หรือหายไปจากหนังศีรษะ แต่ผมส่วนอื่น ๆ ที่เป็นผมดั้งเดิมจะยังได้รับผลกระทบจากฮอร์โมนอยู่ จึงจำเป็นที่จะต้องรับประทานยาฟีนาสเตอไรด์อย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้ผมส่วนนี้หลุดร่วงลง
หากไม่รับประทานยาแก้ผมร่วงหลังปลูกผมจะเกิดอะไรขึ้น?
ในกรณีที่ผู้เข้ารับการปลูกผมไม่ได้รับประทานยาแก้ผมร่วงอย่างต่อเนื่อง ก็จะทำให้ผมส่วนอื่น ๆ ที่ยังได้รับผลกระทบจากฮอร์โมนหลุดร่วงลง และถ้าปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ จะทำให้ผมบริเวณนั้นค่อย ๆ บางลงจนเห็นหนังศีรษะในที่สุด ซึ่งจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ ทำให้ดูไม่ค่อยสวยงาม และจำเป็นที่จะต้องปลูกผมบริเวณดังกล่าวได้
นอกจากรับประทานยาแล้ว มีหัตถการอื่นๆ ที่ช่วยแก้ปัญหาผมร่วงผมบางไหม?
นอกจากการรับประทานยายับยั้งฮอร์โมน DHT และยาที่ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดแล้ว ยังมีอีกหลายหัตถการที่ช่วยรักษาผมบาง ซึ่งสามารถทำร่วมกับการปลูกผมและรับประทานยาได้ ดังนี้
- การฉีด PRP : เป็นการนำเลือดของผู้เข้ารับการรักษามาปั่นแยกเอาเกล็ดเลือดที่เข้มข้นและสมบูรณ์ออกมา ซึ่งจะอุดมไปด้วยโกรทแฟคเตอร์ (Growth Factor) เมื่อนำมาฉีดที่บริเวณหนังศีรษะ จะสามารถช่วยซ่อมแซมและกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ได้
- การฉีดยากลุ่ม Hair Loss Control : เป็นการฉีดวิตามินเข้มข้น หรือตัวยาที่ช่วยในการรักษาผมร่วงเข้าสู่หนังศีรษะโดยตรง จัดเป็นวิธีรักษาที่ไม่มีผลข้างเคียง ไม่ต้องพักฟื้น และเห็นผลเร็ว เหมาะสำหรับคนที่มีปัญหาผมร่วงรุนแรง หรือผมร่วงฉับพลัน
- การฉายแสงกระตุ้นรากผม LLLT : เป็นการฉายแสงเลเซอร์ที่มีคลื่นแสงความถี่ต่ำ 650-680 นาโนเมตร มีลักษณะเป็นแสงสีแดงที่บริเวณหนังศีรษะ สามารถช่วยกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหนังศีรษะได้ดีขึ้น ช่วยให้รากผมแข็งแรงและสร้างเส้นผมได้มากขึ้น
รวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับยาปลูกผม
นอกจากคำตอบของคำถามปลูกผมแล้วต้องกินยาไหมแล้ว เรายังได้รวบรวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับยาปลูกผมอื่น ๆ มาให้ด้วย สามารถไปดูคำถามและคำตอบกันได้เลย
1. ยา Finasteride ทำให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศจริงหรือไม่?
ยา Finasteride อาจทำให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้ เนื่องจากตัวยามีผลในการยับยั้งฮอร์โมนเพศชาย โดยจะทำให้เกิดอาการหย่อนสมรรถภาพ ความต้องการทางเพศและปริมาณอสุจิลดลง และ/หรือมีการเจ็บอัณฑะร่วมด้วยได้ แต่พบได้น้อยมาก โดยจะพบเพียง 2-5% ของผู้ใช้ยา และเมื่อหยุดใช้ยา หรือหยุดทำการรักษา อาการก็จะกลับมาเป็นปกติภายใน 1 เดือน
2. คนท้องใช้ยาปลูกผมได้ไหม?
ในระหว่างที่ตั้งครรภ์ หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร แนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้ยาปลูกผม เพราะอาจเป็นอันตรายต่อแม่และเด็กได้ อย่างไรก็ตาม หากมีความกังวลเกี่ยวกับอาการผมร่วง หรือผมบางมาก ๆ แนะนำให้เข้าพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินและรับการรักษาอย่างเหมาะสมจะดีกว่า
3. กินยาปลูกผมกี่เดือนถึงจะเห็นผล?
โดยส่วนใหญ่แล้ว จะเริ่มเห็นผลหลังจากที่ใช้ยาอย่างต่อเนื่องประมาณ 3-6 เดือน และเห็นผลชัดเจนภายใน 1 ปี
4. ยาปลูกผมมีผลเสียอย่างไร?
ยาปลูกผมก็เหมือนกับยาทั่วไปคืออาจทำให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้ เช่น
- ยา Finasteride อาจทำให้เกิดอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้ในผู้ที่ใช้ยา แต่พบได้น้อยมาก
- ยา Minoxidil อาจทำให้เกิดอาการหัวใจเต้นผิดปกติ เวียนศีรษะ อาเจียน คลื่นไส้ ความดันตก แน่นหน้าอก หน้ามืด หายใจไม่ออก หรือหายใจลำบากได้ ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย หากมีอาการเหล่านี้จะต้องหยุดใช้ยาและแจ้งให้แพทย์ทราบทันที
อย่างไรก็ตาม เราสามารถลดผลกระทบของผลข้างเคียงของยาปลูกผมได้ด้วยการใช้ยาภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งแพทย์จะช่วยประเมินขนาดยาที่เหมาะสมกับแต่ละคน หรือเปลี่ยนไปใช้หัตถการรักษาผมบางอื่น ๆ ที่ไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงได้
สรุปเรื่องการรับประทานยาหลังปลูกผม
เป็นอย่างไรกันบ้างกับข้อมูลเกี่ยวกับการรับประทานยาปลูกผมที่เรานำมาฝากในบทความนี้ หวังว่าจะช่วยคลายข้อสงสัยปลูกผมแล้วต้องกินยาไหม และปลูกผมแล้วต้องกินยาตลอดชีวิตหรือไม่ และทำให้คุณวางแผนการดูแลสุขภาพเส้นผมของตนเองหลังจากปลูกผมได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น ช่วยให้มีเส้นผมที่หนานุ่มมีสุขภาพดี ไม่มีปัญหาผมร่วงผมบางศีรษะล้านมากวนใจอีกต่อไป!
สำหรับท่านใดที่มีปัญหาผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน สามารถนัดหมายเข้ามาปรึกษาแพทย์ที่ Grow And Glow hair Clinic ได้เลย คลินิกปลูกผมของเราให้การดูแลโดยแพทย์หญิงภัทรา ภิญโญภาวศุทธิ แพทย์เฉพาะทางด้านการปลูกผม (Hair Restoration Surgery) ได้รับการรับรองโดยสถาบันปลูกผมระดับโลก และมีประสบการณ์ในระดับนานาชาติมากกว่า 5,000 เคส รับรองว่าไม่ทำให้ผิดหวังอย่างแน่นอน!
ปรึกษาเกี่ยวกับการปลูกผมเพิ่มเติมได้ที่ :
- โทรศัพท์ : 084 501 9989
- Line OA : @clinicgrowandglow
- Facebook Page : GROW & GLOW Clinic ปลูกผมถาวรโดยแพทย์เฉพาะทาง
Grow And Glow Hair Clinic ดูแลโดยแพทย์เฉพาะทางด้านการปลูกผมจากสถาบันปลูกผมระดับโลก ประสบการณ์ปลูกผมมากกว่า 5,000 เคส